วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ฟิลเตอร์หน้าเลนส์ คืออะไร เลือกยังไง...ไปดู!

สิ่งหนึ่งที่คนซื้อกล้องมา ส่วนใหญ่เลยน่าจะถูกพนักงานร้าน  หลอกล่อ  เชิญชวนให้ซื้อฟิลเตอร์ติดหน้าเลนส์มาด้วย ซึ่งถามว่า ฟิลเตอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นรึเปล่า...ส่วนตัวแล้วผมลอบติดฟิลเตอร์ไว้กับเลนส์บางตัว แต่การติดฟิลเตอร์นั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นกับการเลือกใช้งานด้วย
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกล้อง DSLR หรือ Mirrorless หรือแม้กระทั่งกล้อง Compact บางรุ่น ก็มักจะใส่ฟิลเตอร์ได้ นั่นหมายถึงมันเป็นเรื่องใกล้ตัวคนใช้กล้องมากกว่าที่คิดนะเออ

แล้วฟิลเตอร์เนี่ยมันเลือกยังไง...ไปดู


ฟิลเตอร์ คืออะไร

ฟิลเตอร์ คือแผ่นที่ติดอยู่บริเวณหน้าเลนส์ อาจทำจากกระจก พลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ

โดยฟิลเตอร์นั้นถูกแบ่งหลักๆ ออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
*5 ประเภทนี่ผมแบ่งเองนะ

1. UV filter / Protect filter


มันคือฟิลเตอร์ใสครับ...
ไม่มีเอฟเฟกต์พิเศษต่อภาพ ช่วยปกป้องหน้าเลนส์เท่านั้น ติดไว้ประหนึ่งประกันภัยเลยก็ว่าได้ ปกป้องหน้าเลนส์ได้สารพัด ตั้งแต่ฝุ่น ละอองน้ำกระเด็น ไปถึงช่วยให้หน้าเลนส์ไม่แตกเวลาร่วงลงพื้น
แถมเวลาทำความสะอาด เราถูฟิลเตอร์แล้วทำความสะอาดง่ายกว่าเช็ดหน้าเลนส์ตรงๆ ด้วย

และเป็นฟิลเตอร์เพียงชนิดเดียว ที่ผมแนะนำให้ติดหน้าเลนส์เอาไว้
(ฟิลเตอร์แบบอื่นๆ ก็ช่วนปกป้องหน้าเลนส์ได้เหมือนกัน แต่มักมีข้อเสียในการใช้งาน ทำให้ลำบากต่อการติดไว้หน้าเลนส์ตลอด)


2. ND filter



ฟิลเตอร์ลดแสง มักใช้ในกรณีที่อยากใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำมากๆ แต่มีแสงรอบข้างเยอะเกินไป
ก็มช้เจ้านี่ช่วยลดแสงให้เข้าเลนส์น้อยลง คิดซะว่าเป็นแว่นกันแดดก็ได้
ตัว ND filter จะมีเบอร์กำกับไว้ด้วย เช่น ND2 , ND8 , ND16 เป็นต้น โดยจะลดแสงได้มากขึ้นตามเลขที่สูงขึ้น
โดยมีสูตรคือ 2^stop = เลข ND
เช่น ND8 ลดแสงได้ 3stop (2^3 = 8)

ใช้เสร็จแล้วอย่าลืมถอดล่ะ มันมืด...


3. Polarizer filter (PL/CPL)


คุณสมบัติของเลนส์โพราไรซ์ คือลดแสงสะท้อนครับ
ที่เห็นบ่อยที่สุดคือ ทำให้สีท้องฟ้าเข้มขึ้น หรือบางทีก็ใช้คุณสมบัตินี้เวลาถ่ายภาพในตู้กระจก ถ่ายปลาในบ่อปลาก็ได้ไม่ว่ากัน
เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมี PL ให้เห็นแล้ว จะเป็น CPL ซะมากกว่า
(C คือ Circle หมายถึงฟิลเตอร์แบบกลม ใช้แปะหน้าเลนส์เลยน่ะ)
เวลาใช้ CPL จะพิดเศษกว่าฟิลเตอร์อื่นๆ นิดหน่อยตรงที่ ตัวฟิลเตอร์เองจะมี 2 ชั้น เราต้องหมุนชั้นบนไปมาเพื่อตัดแสงสะท้อนในมุมที่พอเหมาะด้วยตัวเอง
อ้อ! ฟิลเตอร์พวกนี้กินแสง 2stop ด้วยนะครับ (กินแสงเท่า ND4)

Tips: การใข้ CPL ไม่ควรหันกล้องไปในทิศทางเดียวกับแหล่งกำเนิดแสง(เช่น หันกล้องไปทางดวงอาทิตย์) ควรหันกล้องให้เอียงพอสมควร จะใช้คุณสมบัติการตัดแสงได้ดีกว่า


4. Graduated filter

ผมเรียกมันว่า "ครึ่งซีก" ครับ
ลักษณะเด่นของชื่อนี้ คือเป็นฟิลเตอร์ใสครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งจะเป็นสี(ดำ เทา ส้ม ฟ้า หรือสีอื่นๆ)
ส่วนใหญ่ฟิลเตอร์ตัวนี้จะเอาไว้ถ่ายวิว เอาครึ่งใสไว้ด้านล่าง อีกครึ่งใช้สีฟ้าไว้ด้านบน เพื่อให้ท้องฟ้ามีสีฟ้ามากขึ้น ประมาณนั้น


5. ฟิลเตอร์พิเศษต่างๆ

พูดเท่าที่นึกออกนะครับ
- Closed-up filter
ทำให้ถ่ายภาพได้ใกล้ จ่อวัตถุได้ใกล้กว่าเดิม
- ฟิลเตอร์เอฟเฟกต์
เช่น ไฟแฉก หรือเปลี่ยนลายของโบเก้


เรื่องน่ารู้ก่อนซื้อฟิลเตอร์

- ฟิลเตอร์ที่ใส่แล้วคุณภาพของภาพดีขึ้น...ไม่มีอยู่จริง
ไม่ว่าจะใช้อันละสองสามร้อย หรือสองสามพัน ฟิลเตอร์ทุกอันลดคุณภาพของภาพทั้งนั้น
แค่ฟิลเตอร์แพงๆ มันจะช่วยให้ภาพดรอปน้อยกว่าเท่านั้นเอง
สิ่งที่ดรอปลงไปบ้าง จะเป็นความคม สีสัน และมักมีแฟลร์เกิดขึ้นง่ายกว่าเดิม

-ขนาดของฟิลเตอร์ที่จะต้องใช้ ดูได้จากหน้าเลนส์

- หากมีเลนส์หลายตัวที่หน้าเลนส์ขนาดไม่เท่ากัน ซื้อฟิลเตอร์ที่พอดีกับหน้าเลนส์ที่ใหญ่ที่สุด แล้วใช้ Step-up ring แปลงหน้าเลนส์ไปใส่เลนส์ที่หน้าเล็กกว่าได้

- ฟิลเตอร์ ฮูด และฝาปิดหน้าเลนส์ ใช้เลขขนาดหน้าเลนส์ตัวเดียวกัน (ถ้าเลนส์หน้า 52mm ก็ใช้ฟิลเตอร์ 52mm ฮูดขนาด 52mm)

- ฟิลเตอร์อันใหญ่ แพงกว่าอันเล็กเสมอ


สำหรับเรื่องเล็กๆ อย่างฟิลเตอร์แปะหน้าเลนส์เบื้องต้นก็มีเท่านี้ ก็หวังว่าอ่านแล้วจะเลือกได้ถูกตัว ถูกใจ และถูกตังค์นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น